วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ ของโรงเรียน


ลักษณะของผู้อำนวยการที่มีประสิทธิภาพ ( Qualities of Effective Principals)



บุคคลที่สำคัญที่สุดอีกคนของโรงเรียนเป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้ คือ ผู้อำนวยการ
ลักษณะของผู้อำนวยการที่มีประสิทธิภาพ คือ

   1.การพัฒนาโรงเรียนขึ้นอยู่กับผู้นำ ที่มีคุณภาพ ( school improvement relies heavily on guality leader)

    2. ตั้งวิสัยทัศน์แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน(establish a collective vision for school improvement)
     3. พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง(initiate change to)
     4. กระตุ้นให้มีนวัตกรรม (spur innovation)
     5. การประกันว่าจะเกิดการเรียนรู้ที่ดี(ensure student learning)
     6. เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (increase achievment)
   
นำเสนอ Power point
          นำเสนอ Power point หัวข้อ  Qualities of Effective Principals


วัฒนธรรมการทำงาน

 นำเสนอ power point  วันที่ 23 กันยายน 2557 โดย ผอ.กัญฐณัฏ  ฉลอง




วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย

โรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย โทร.027405290




ข้อมูลโรงเรียน


คุณลักษณะของ Mentee
           1. เป็นผู้ที่มีประวัติในการทำงานที่ประสบความสำเร็จ
            2. เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด และมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
            3. เป็นผู้มีความผูกพันกับสถานศึกษาและการจัดการศึกษา
            4. เป็นผู้มีความใฝ่ฝันและความปรารถนาที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
            5. เป็นผู้ที่ชอบความท้าทายและเต็มใจ พร้อมที่จะทำงานนอกเหนือจากงานปกติ
            6. เป็นผู้ที่มีความปรารถนาที่จะได้รับความก้าวหน้าและเติบโตในสายอาชีพ
            7. เป็นผู้ที่เต็มใจรับฟังคำชี้แนะและข้อมูลป้อนกลับจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
        จากคุณลักษณะดังกล่าว จะพบว่า Mentee เป็นบุคคลที่มีผลงานโดดเด่นกว่าบุคคลอื่น ๆ เป็นผู้มีผลงานดีเลิศ
 (Top Performer) ซึ่งสถานศึกษาจะต้องรักษาไว้ ดังนั้น ผู้ที่เป็น Mentor จึงเป็นเสมือนแม่แบบของ Mentee ด้วย

คุณลักษณะของ Mentor

             Mentor ที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
             1. มีความสัมพันธ์ที่ดี (Interpersonal Skills)
              2. การมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น (Influence Skills)
              3. การตระหนักถึงผลสำเร็จในการทำงานของผู้อื่น (Recognized other’s accomplishment)
              4. การมีทักษะของการบังคับบัญชาที่ดี (Supervisory Skills)
              5. มีความรู้ในสายวิชาชีพหรือสายงานของตน (Technical Knowledge)

บทบาทหน้าที่ของ Mentor
           ในสถานศึกษาที่พัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปฏิบัติงานทุกคน ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกันเป็นทีม   การนำ Mentoring แบบกลุ่มมาใช้ในการพัฒนาบุคคลในองค์กร จะมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง โดย Mentoring หรือ Learning Leader จะมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้
            1. Guide Mentor จะเป็นผู้แนะแนวแก่กลุ่ม Mentee ในการระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ที่จะสร้างปัญหา และอุปสรรคต่อการทำงานที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้ แต่จะไม่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกทางให้ แต่จะช่วยให้กลุ่ม Mentee มองเห็นภาพของสถานศึกษาในอนาคต เพื่อให้กลุ่ม Mentee กลับไปทบทวนการปฏิบัติที่ผ่านมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าเขาได้ใช้ทักษะ วิธีการ และพฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร นอกจากนั้น Mentor จะตั้งคำถามที่กระตุ้นให้กลุ่ม Mentee หาคำตอบที่จะทำให้กลุ่มสามารถมองเห็นกลยุทธ์ และเทคนิคใหม่ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ของ Mentee ทุกคนซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองเท่านั้น แต่จะเรียนรู้จาก Mentor และจากประสบการณ์ของ Mentee คนอื่น ๆ ในกลุ่ม
             2. Ally Mentor เป็นพันธมิตรที่คอยให้ข้อมูลแก่ Mentee แต่ละคนในกลุ่ม Mentee เกี่ยวกับจุดอ่อน จุดแข็งของ Mentee แต่ละคน โดยวิธีการให้ Mentee เล่าถึงปัญหาของตน Mentor จะฟังอย่างตั้งใจ เห็นอกเห็นใจ และให้ข้อมูลความเห็นทั้งด้านดีและด้านไม่ดีอย่างตรงไปตรงมา และเป็นมิตร
             3. Catalyst Mentor เป็นผู้กระตุ้นให้กลุ่ม Mentee มองภาพวิสัยทัศน์และอนาคตของสถานศึกษา ว่าจะไปทิศทางใดในอนาคต สถานศึกษาถึงจะดี พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ และจะมีการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา
             4. Savvy Insider Mentor เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการจัดการศึกษา ทำให้มีแนวทางในการจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ และสามารถให้แนวทางแก่กลุ่ม Mentee ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษาที่กำหนดไว้ และจะเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยง Mentee กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาที่จะสามารถช่วยให้ Mentee เกิดการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานได้

             5. Advocate ในขณะที่กลุ่ม Mentee เกิดการเรียนรู้นั้น สมาชิกจะเริ่มมองเห็นว่า ตนเองสามารถผลักดันความเจริญก้าวหน้าและแผนพัฒนาความก้าวหน้าด้วยตนเอง Mentor จะทำหน้าที่ช่วยให้ Mentee ได้มีโอกาสแสดงความสามารถให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ (Visibility) เช่น เมื่อ Mentee เสนอโครงการปฏิบัติงานที่เห็นว่าดี ก็พยายามผลักดันให้โครงการนั้นได้รับอนุมัติให้ดำเนินการได้ เพื่อ Mentee จะได้มีโอกาสแสดงความรู้ ความสามารถ

ICT กับการเรียนการสอน

การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่งเสริมให้ครูใช้ ICTเพื่อการจัดการเรียนการสอน